พิธีชงชา หรือ ชาโนยุ คือสิ่งหย่อนใจอย่างสุนทรีย์อันเป็นเอกลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยการชงชา การดื่มชาผงสีเขียวหรือ มัทชะ ที่มีความเรียบง่าย มีแบบแผนที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น
ประวัติของพิธีชงชา
การดื่มชาเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นในราว ศตวรรษที่ 8 เริ่มดื่มชากันแพร่หลายมากขึ้นใน ศตวรรษที่ 12 ในศตวรรษที่ 14 การถือปฏิบัติในการจัดการพบปะกันในวงสังคมเพื่อดื่มมัทชาได้แพร่หลายในบรรดาชนชั้นสูง เพราะ สังคมชนชั้นสูงจะดื่มชาในเวลาสังสรรค์ใน โชอิน หรือ ห้องหนังสือ เพื่อประกอบการชื่นชมศิลปะภาพวาดต่างๆ ที่มาจากประเทศจีน ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 16 ได้จัดทำรูปแบบของพิธีการชงชาขึ้นมา โดย ครูแห่งชา คือ เซ็น โนะ ริคิว (Sen no Rikyu) หลังจาก เซ็น โนะ ริคิว ถึงแก่กรรมใน คศ.1591 คำสั่งสอนของท่านก็ได้ตกทอดกันต่อมา ซึ่งในปัจจุบัน มีโรงเรียนสอนวิธีชงชามากมาย แค่หนึ่งในนั้นคือ สำนักอุราเซ็นเกะ (Urasenke School) ซึ่งเป็นสำนักที่เข็มงวดและมีลูกศิษย์มากที่สุด
![]() |
ประตูทางเข้นาของสำนักอุราเซ็เกะ |
![]() |
ครูแห่งชา เซ็น โนะ ริคิว |
บทบาทสำคัญของพิธีชงชา หรือ ชาโนยุ
ชาโนยุมีบทบาทสำคัญในชีวิตด้านศิลปะของชาวญี่ปุ่น พิธีชงชาเกี่ยวพันกับการชื่นชมห้องที่ประกอบพิธี สวนนอกห้อง เครื่องใช้ในการชงชา เครื่องตกแต่งบริเวณพิธี เช่น ภาพแขวนหรือการจัดดอกไม้ สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น การจัดสวน เครื่องปั้นดินเผาเซรามิค สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นความสุนทรีย์ที่ได้รับจากพิธีชงชาทั้งสิ้น หัวใจของพิธีหรือชาโนยุซึ่งแสดงออกโดยความงามของความเรียบง่ายและความกลมกลืนกับธรรมชาติ พิธีการที่ถือปฏิบัติในพิธีชงชาได้มีอิทธิพลต่อการพัฒนามารยาทพื้นฐานของชาวญี่ปุ่นด้วย
ชาญี่ปุ่น
ชาญี่ปุ่นมี 2 แบบ
1.ชาเขียวซึ่งชงจากใบชา เรียกว่า “เซนชะ” เซนชะเป็นชาที่ผลิตและดื่มกันแพร่หลายคิดเป็น 80% ของปริมาณการผลิตชาทั้งประเทศ
2.ชาเขียวที่เป็นผงคือ “มัทชะ” มัทชะเป็นชาที่ใช้ในพิธีชงชาเป็นส่วนใหญ่
มัทชะ มี 2 ชนิด
1. อุสุฉะ(มัทฉะชนิดหนึ่งสีและรสชาติอ่อนกว่า)
2. โคะอิฉะ มัทฉะเข้มข้นปรุงขึ้นในถ้วยชา 1 ถ้วย สำหรับหลายคนดื่มต่อๆกัน
เซนชะ

มัทชะ

รูปแบบงานพิธีชงชา
1.กิ โนะ ชะจิ จัดในฤดูหนาว เริ่มงานตั้งแต่เวลา 4 นาฬิกา ขณะเดินผ่านสวนไปยังห้องชงชา จะได้เห็นน้ำค้างแข็งตัวด้วยความหนาวเย็น ในห้องชงชา จะได้ดื่มชาขณะฟังเสียงน้ำเดือดอยู่ในกาต้มน้ำ อีกทั้งได้สัมผัสความเปลี่ยนแปลงจากกลางคืนเป็นรุ่งเช้าที่สว่างสดใส
2. อะซะ โนะ ชะจิ จัดในฤดูร้อน เริ่มงานตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกา จะได้สัมผัสกับบรรยากาศเย็นสบายในฤดูร้อน ทั้งจากอากาศที่เย็นสดชื่นในยามเช้า และจากการตกแต่งประดับห้องตลอดจนการใช้สิ่งของอุปกรณ์ที่ทำให้รู้สึกเย็นสบาย
3. โชโกะ โนะ ชะจิ จัดได้ทุกฤดูเริ่มงานตั้งแต่เวลาเที่ยงวัน เป็นรูปแบบทั่ว ๆ ไปของงานพิธีชงชาที่จัดกัน
4. โยะบะนะชิ โนะ ชะจิ จัดในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงจนถึงฤดหนาวตอนปลายปี เริ่มงานในตอนค่ำหลังพระอาทิตย์ตกดิน จะได้สัมผัสกับบรรยากาศความงดงามของค่ำคืนในฤดูใบไม้ร่วง
5. ฟุจิ โนะ ชะจิ จัดขึ้นสำหรับแขกที่มาเยี่ยมกระทันหัน โดยจะจัดให้สอดคล้องกับเวลาและความสะดวกของแขก
6. ฮันโกะ โนะ ชะจิ จัดสำหรับแขกที่รับประทานอาหารมาแล้ว เจ้าภาพจึงสามารถปรับขั้นตอนให้สอดคล้องกับความสะดวกของแขกเช่นเดียวกัน เช่น อาจจะให้แขกรับประทานเฉพาะขนม หรือให้รับประทานอาหารว่างเบา ๆ และทำพิธีชงชาข้น (โคะอิชะ) แล้วตามด้วยชาจางอ่อน (อุซุชะ) ต่อกันไป โดยไม่มีการพัก
7. อะโตะมิ โนะ ชะจิ จัดสำหรับแขกที่ได้รับเชิญ แต่ไม่สามารถมาร่วมงานได้ รวมทั้งผู้ที่ไม่ได้รับเชิญ แต่มีความประสงค์จะชมการตกแต่งประดับห้อง และอุปกรณ์ชงชา เมื่อแจ้งความประสงค์ต่อเจ้าภาพ เจ้าภาพจะกำหนดเวลาที่เหมาะสมให้เข้าชมหลังจากแขกที่ได้รับเชิญในงานกลับไปแล้ว ปกติจะจัดให้เฉพาะหลังงานอะซะโนะ ชะจิ ซึ่งจัดในตอนเช้า กับโชโกะ โนะ ชะจิ ในตอนกลางวัน
ขั้นตอนการจัดพิธีชงชา
ในการจัดงานแต่ละครั้ง เจ้าภาพจะเชิญแขกมาร่วมจำนวน 4-5 คน ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 4 ชั่วโมง ตามขั้นตอนดังนี้
1. แขกไปถึงก่อนเวลางานเริ่มเล็กน้อย เตรียมตัวก่อนเข้าห้องพิธีชงชา
2. แขกเข้าไปในห้องชงชา ชมการประดับมุมเว้าด้วยภาพแขวน ชมอุปกรณ์ต่างๆ และทักทายกับเจ้าภาพ
3. ชมเจ้าภาพติดไฟในเตา
4. แขกรับประทานอาหารสำหรับพิธีชงชา (ไคเซคิ เรียวริ) และขนม
5. แขกออกไปนั่งพักที่ที่นั่งในสวน ในระหว่างนี้เจ้าภาพจะนำแจกันดอกไม้มาประดับแทนภาพแขวน และเตรียมอุปกรณ์ชงชา
6. เมื่อได้ยินสัญญาณ แขกกลับเข้าไปในห้อง ชมดอกไม้ในแจกัน
7. แขกทุกคนดื่มชาข้น “โคะอิชะ” จากถ้วยเดียวกัน แล้วสนทนากับเจ้าภาพและชมอุปกรณ์ชงชา
8. เจ้าภาพติดไฟในเตาอีก
9. แขกรับประทานขนมดื่มชาจางอ่อน “อุซุชะ” แล้วชมถ้วยชาและอุปกรณ์ชงชา
10. แขกขอบคุณเจ้าภาพ แล้วลากลับเราจะเข้าใจรูปแบบและหลักการของพิธีชงชาได้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น หากได้มีประสบการณ์ไปเข้าร่วมงานพิธีชงชาดังกล่าวมาข้างต้น
วิธีดื่มชา
1. หยิบขนมวางบน ไคชิ แล้วรับประทานให้หมดก่อนที่จะมีการนำชามาเสิร์ฟ
2. เมื่อมีการนำชามาเสิร์ฟให้คำนับ ฮันโต (คนที่มีหน้าที่เสิร์ฟชาและเครื่องใช้ต่างๆในพิธีชงชา)
3. ยกถ้วยชาขึ้นด้วยมือขวา มือซ้ายรองรับใต้ถ้วยชาอย่างแผ่วเบา แล้ววางถ้วยชาลงตรงระหว่างตัวท่านกับแขนที่นั่งอยู่ถัดไป (ซึ่งจะได้รับการเสิร์ฟชาทีหลังท่าน) คำนับแก่แขกผู้นี้แล้วกล่าวว่า “โอะสะคินิโจได อิตะชิมะสุ” (ขอโทษที่ดื่มชาก่อนท่าน)
4. ยกถ้วยชาที่วางอยู่ระหว่างตัวท่านกับแขกที่นั่งอยู่ถัดไปขึ้นด้วยมือขวา มือซ้ายรองรับใต้ถ้วยชา อย่างแผ่วเบา แล้ววางถ้วยชาลงอีกครั้งหนึ่งหน้าตัวท่าน จากนั้นคำนับ เทชุ (เจ้าภาพในพิธีชงชา) พร้อมกับพูดว่า “โจไดอิตะชิมะสุ” (ขอน้อมรับชาที่ท่านจัดชงขึ้นด้วยความขอบคุณ)
5. ยกถ้วยชาขึ้นด้วยมือขวา รองรับด้วยมือซ้ายแล้วกดถ้วยชาเบาๆ หมุนถ้วยชาด้วยมือขวาตามเข็มนาฬิกาสองครั้ง(รวมแล้วหมุนในรัศมีประมาณ 90 องศา) ทั้งนี้เพี่อไม่ให้ดื่มชาจากด้านหน้าของถ้วยชา จากนั้นก็ดื่ม ลิ้มรสความอร่อยของชา
6. หลังจากที่ดื่มชาให้ใช้ปลายนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ข้างขวาเช็ดขอบถ้วยตรงที่ดื่มเบาๆจากซ้ายไปขวา 1 ครั้ง เสร็จแล้วเช็ดปลายนิ้วด้วยไคชิ
7. หมุนถ้วยชาด้วยมือขวาทวนเข็มนาฬิกา 2 ครั้ง (ประมาณ 90 องศา) เพื่อให้ด้านหน้าของถ้วยชา อยู่ตรงหน้าท่านเหมือนในตอนแรก แล้ววางลงบนโต๊ะข้างหน้าท่าน
8. มองชื่นชมถ้วยชา (มองรูปลักษณะของถ้วยชาทั้งถ้วยก่อน จากนั้นจึงพิจารณารายละเอียด) แล้วจึงยกถ้วยชาขึ้นและหมุนทวนเข็มนาฬิกาอีก 2 ครั้ง (ประมาณ 180 องศา) เพื่อให้ด้านหน้าของถ้วยชาอยู่ตรงหน้าผู้เสิร์ฟ แล้ววางลงตรงจุดที่ได้รับเสิร์ฟชา
วัสดุที่ใช้
![]() | ||
เซ็นสุ 扇子(พัด) |
![]() |
ไคชิ 懐紙(กระดาษกันเปื้อน) |
โยจิ 楊子(ไม้จิ้มฟันสำหรับตัดขนมญี่ปุ่น)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น