การจัดดอกไม้หรือ อิเคะบานะคือ
อิเคะบะนะ เป็นศิลปะการจัดดอกไม้ดั้งเดิมแบบญี่ปุ่นซึ่งเป็นการจัดดอกไม้ กิ่งไม้หรือหญ้าธรรมชาติไว้ในแจกัน โดยมีเทคนิคการจัดแบบต่างๆเพื่อไว้ชม
ความเป็นมาของอิเคะบะนะ
การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 500 ปี เริ่มขึ้นในสมัยของมูโรมาชิ ที่วัดร็อกกะกุโด ในเมืองเกียวโต วัดนี้ได้ถูกค้นพบโดยเจ้าฟ้าชายโชโตกุ ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น พระองค์ ได้พระราชทานชื่อ “อิเคโนโบ” แก่นักบวชผู้หนึ่ง และนักบวชผู้นี้เอง ได้เป็นผู้วางรากฐานและสร้างคอนเซปต์ของศิลปะการจัดดอกไม้แนวใหม่ และสืบทอดให้อาจารย์ใหญ่ท่านต่อๆมาได้สานต่อศิลปะเก่าแก่อันงดงามของแดนอาทิตย์ อุทัยจนถึงปัจจุบัน
สาเหตุที่ทำให้เกิด อิเคะบานะอาจย้อนกลับไปถึงการบูชาด้วยดอกไม้ตามพิธีกรรมในวัดทางศาสนาพุทธ ซึ่งเริ่มในศตวรรษที่ 6 ในการจัดดอกไม้อย่างหยาบๆ
โครงสร้างพื้นฐานของอิเคะบะนะ
ใช้กิ่งสำคัญ 3 กิ่งเป็นแกน แสดงความสอดคล้องของธรรมชาติและมนุษย์ ได้แก่
1.เท็ง หมายถึง สวรรค์ จัดกิ่งไว้สูงสุด
2.ชิ หมายถึง โลก จัดกิ่งไว้ต่ำสุด
3.จิ้น หมายถึง มนุษย์ จัดอยู่ระหว่างสวรรค์กับโลก

การจัดอิเคะบานะ มีทั้งหมด 3 แบบ
1.อิเคะบะนะแบบดั้งเดิม (การจัดในแนวตั้ง) หรือ ริกะ Rikka : ปรากฎขึ้นในศตวรรษที่ 15 การจัด การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น แบบริกกะซึ่งมุ่งสะท้อนถึงความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ว่าควรจัดดอกไม้เพื่อบรรยายภาพภูเขาพระสุเมรุ ซึ่งถือเป็นภูเขาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ทางพุทธศาสนาและเป็นสัญลักษณ์แห่งจักรวาลด้วย
2. อิเคบานะแบบสมัยใหม่ ใน ค.ศ.1890 หลังจากยุคปฏิรูปเมจิที่นำยุคสมัยใหม่และความเป็นตะวันตกมาสู่ประเทศญี่ปุ่น มีการพัฒนารูปแบบใหม่ของอิเคบานะเรียกว่าโมริบานะ (Moribana : กองดอกไม้) การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น รูปแบบโมริบานะสอดคล้องกับการนำดอกไม้ตะวันตกมา รูปแบบโมริบานะเป็นการริเริ่มความมีอิสระในการจัดดอกไม้ด้วยการย่อส่วนของภูมิทัศน์หรือทัศนียภาพของสวน การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น การจัดดอกไม้แบบนี้ให้ความเจริญตาไม่ว่าจะตั้งอยู่ ณ ที่ใดและสามารถดดัดแปลงให้หมาะสมกับทั้งสถานการณ์ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

3. อิเคะบะนะขนาดเล็ก (นะเงะอิเระ) เกิดขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ 16 มีขนาดเล็กรูปแบบการจัดดอกไม้ที่มีวินัยจัดแต่เรียบง่าย เกิดขึ้นในฐานะเป็นส่วนหนึ่งในพิธีชงชา การจัดดอกไม้ตามรูปแบบนี้ ควรจัดดอกไม้ใส่ในแจกันให้ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุดไม่ว่าวัสดุที่ใช้จะเป็นอะไรก็ตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น